สำหรับบทความนี้ก็ต่อยอดมาจากบทความที่แล้วในเรื่อง
นะครับติดตามอ่านการใช้งานเบื้องต้นก่อนได้เลย ส่วนวันนี้เรามาใช้ฟังก์ชั่น date() ที่ใช้สำหรับแสดงค่าวันที่และเวลา มาทำวันที่แบบไทยๆกันเพราะว่าเดิมผลลัพธ์ที่ได้นั้นจะเป็นภาษาอังกฤษ เราก็เลยจับมาทำใหม่กัน ตามโค้ดนี่เลยครับ
ตัวอย่างโค้ด
ผลลัพธ์
ตัวอย่างโค้ด
<? $original_date = date("d"); $original_wday = date("l"); $original_month = date("F"); $original_year = date("Y"); echo("$original_wday $original_date $original_month $original_year"); $TH_Day = array("อาทิตย์","จันทร์","อังคาร","พุธ","พฤหัสบดี","ศุกร์","เสาร์"); $TH_Month = array("มกราคม","กุมภาพันธ์","มีนาคม","เมษายน","พฤษภาคม","มิถุนายน","กรกฏาคม","สิงหาคม","กันยายน","ตุลาคม","พฤศจิกายน","ธันวาคม"); $nDay = date("w"); $nMonth = date("n")-1; $date = date("j"); $year = date("Y")+543; echo("วันนี้เป็นวัน $TH_Day[$nDay] ที่ $date เดือน $TH_Month[$nMonth] ปี พ.ศ. $year"); ?>
ผลลัพธ์
Friday 10 August 2012
วันนี้เป็นวัน ศุกร์ ที่ 10 เดือน สิงหาคม ปี พ.ศ. 2555
วันนี้เป็นวัน ศุกร์ ที่ 10 เดือน สิงหาคม ปี พ.ศ. 2555
อธิบาย
เนื่องจากการใช้ฟังก์ชั่น date() นั้นผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของภาษาอังกฤษ จากตัวอย่างโค้ด
จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาคือ
Friday 10 August 2012
ซึ่งในส่วนนี้เราต้องทำการปรับปรุงโค้ดโปรแกรมบางอย่างเพื่อให้สามารถแสดงผลเป็นภาษาไทยได้ เนื่องจากในตัวฟังก์ชั่นไม่มีการแสดงผลให้เป็นภาษาไทยได้ดังนั้นเราจึงต้องกำหนดภาษาไทยไปก่อนเพื่อเรียกใช้งานภายหลังโดยจะจัดเก็บชื่อวันของสัปดาห์และชื่อเดือนที่เป็นภาษาไทยเก็บไว้ในรูปแบบของอาร์เรย์ดังนี้
เราได้จัดเก็บชื่อวันของสัปดาห์ในอาร์เรย์ชื่อ $TH_Day และเก็บชื่อเดือนในอาร์เรย์ชื่อ $TH_Month โดยการเรียกใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลของอาร์เรย์นั้นๆได้โดยการระบุตำแหน่งของอาร์เรย์ที่ต้องการทราบค่าเข้าไป ซึ่งเริ่มนับตำแหน่งจากตำแหน่งที่ 0
ตัวอย่างการเข้าถึงข้อมูลในอาร์เรย์
ถ้าเราต้องการข้อมูลของวันอาทิตย์ในอาร์เรย์ $TH_Day เราสามารถระบุตำแหน่งได้ดังนี้ $TH_Day[0] และเช่นเดียวกันหากต้องการเดือนมิถุนายน เราต้องใช้ดังนี้ $TH_Month[5]
ต่อมาเราก็ทำการเก็บค่าของข้อมูลวันที่ต่างๆไว้ในตัวแปร ดังโค้ดโปรแกรมต่อไปนี้
จากนั้นก็ทำการเรียกใช้ข้อมูลดังกล่าวให้แสดงผลออกมาดังนี้
ซึ่งจะแสดงผลออกมาได้เป็นภาษาไทยดังผลลัพธ์
วันนี้เป็นวัน ศุกร์ ที่ 10 เดือน สิงหาคม ปี พ.ศ. 2555
ที่แสดงผลออกมาเป็นวันศุกร์ได้เพราะการที่เรานำตัวแปร $nDay ที่เก็บค่าลำดับวันของสัปดาห์โดยเริ่มที่วันอาทิตย์ = 0 ในที่นี้คือค่า 5 มาใส่เป็นค่าตำแหน่งของอาร์เรย์ $TH_Day ซึ่ง $TH_Day[5] มีค่าเท่ากับ "ศุกร์" ส่วนการแสดงผลของเดือนก็เช่นกัน เพียงแต่ตัวแปรที่ใช้เก็บค่าลำดับเดือนนั้นจะใช้ date("n") - 1 เพราะว่า date("n") จะให้ค่าตั้งแต่ 1 - 12 การจะนำมาใช้ในอาร์เรย์ต้องเริ่มลำดับตำแหน่งที่ 0 จึงต้องทำการลบออก 1 เพื่อให้สามารถเข้าถึงลำดับในอาร์เรย์ได้อย่างถูกต้อง สำหรับปี พ.ศ. เราก็ใช้ date("Y")+543 เพราะ date("Y") จะให้ค่าเป็นปี ค.ศ. 4 หลักมาการที่จะทำให้เป็น พ.ศ. จึงต้องบวกเพิ่มอีก 543 ดังกล่าว
สำหรับบทความนี้ก็เป็นการนำฟังก์ชั่น date() มาประยุกต์ทำวันที่ภาษาไทยดังที่ได้ทำมาแล้วนั้นเรายังสามารถที่จะนำไปประยุกต์ทำอย่างอื่นได้อีกนั่นก็คือ ปฏิทิน สำหรับบทความต่อไปเราจะมาสร้างปฏิทินในแบบฉบับของเราเอง โปรดติดตามด้วยนะครับ
เนื่องจากการใช้ฟังก์ชั่น date() นั้นผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของภาษาอังกฤษ จากตัวอย่างโค้ด
$original_date = date("d"); $original_wday = date("l"); $original_month = date("F"); $original_year = date("Y"); echo("$original_wday $original_date $original_month $original_year");
จะเห็นได้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาคือ
Friday 10 August 2012
ซึ่งในส่วนนี้เราต้องทำการปรับปรุงโค้ดโปรแกรมบางอย่างเพื่อให้สามารถแสดงผลเป็นภาษาไทยได้ เนื่องจากในตัวฟังก์ชั่นไม่มีการแสดงผลให้เป็นภาษาไทยได้ดังนั้นเราจึงต้องกำหนดภาษาไทยไปก่อนเพื่อเรียกใช้งานภายหลังโดยจะจัดเก็บชื่อวันของสัปดาห์และชื่อเดือนที่เป็นภาษาไทยเก็บไว้ในรูปแบบของอาร์เรย์ดังนี้
$TH_Day = array("อาทิตย์","จันทร์","อังคาร","พุธ","พฤหัสบดี","ศุกร์","เสาร์"); $TH_Month = array("มกราคม","กุมภาพันธ์","มีนาคม","เมษายน","พฤษภาคม","มิถุนายน","กรกฏาคม","สิงหาคม","กันยายน","ตุลาคม","พฤศจิกายน","ธันวาคม");
เราได้จัดเก็บชื่อวันของสัปดาห์ในอาร์เรย์ชื่อ $TH_Day และเก็บชื่อเดือนในอาร์เรย์ชื่อ $TH_Month โดยการเรียกใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลของอาร์เรย์นั้นๆได้โดยการระบุตำแหน่งของอาร์เรย์ที่ต้องการทราบค่าเข้าไป ซึ่งเริ่มนับตำแหน่งจากตำแหน่งที่ 0
ตัวอย่างการเข้าถึงข้อมูลในอาร์เรย์
ถ้าเราต้องการข้อมูลของวันอาทิตย์ในอาร์เรย์ $TH_Day เราสามารถระบุตำแหน่งได้ดังนี้ $TH_Day[0] และเช่นเดียวกันหากต้องการเดือนมิถุนายน เราต้องใช้ดังนี้ $TH_Month[5]
ต่อมาเราก็ทำการเก็บค่าของข้อมูลวันที่ต่างๆไว้ในตัวแปร ดังโค้ดโปรแกรมต่อไปนี้
$nDay = date("w"); //เก็บค่าของลำดับวันของสัปดาห์ $nMonth = date("n")-1; //เก็บค่าลำดับของเดือน $date = date("j"); //เก็บค่าวันที่ $year = date("Y")+543; //เก็บค่า พ.ศ. (ค.ศ. + 543 = พ.ศ.)
จากนั้นก็ทำการเรียกใช้ข้อมูลดังกล่าวให้แสดงผลออกมาดังนี้
echo("วันนี้เป็นวัน $TH_Day[$nDay] ที่ $date เดือน $TH_Month[$nMonth] ปี พ.ศ. $year");
ซึ่งจะแสดงผลออกมาได้เป็นภาษาไทยดังผลลัพธ์
วันนี้เป็นวัน ศุกร์ ที่ 10 เดือน สิงหาคม ปี พ.ศ. 2555
ที่แสดงผลออกมาเป็นวันศุกร์ได้เพราะการที่เรานำตัวแปร $nDay ที่เก็บค่าลำดับวันของสัปดาห์โดยเริ่มที่วันอาทิตย์ = 0 ในที่นี้คือค่า 5 มาใส่เป็นค่าตำแหน่งของอาร์เรย์ $TH_Day ซึ่ง $TH_Day[5] มีค่าเท่ากับ "ศุกร์" ส่วนการแสดงผลของเดือนก็เช่นกัน เพียงแต่ตัวแปรที่ใช้เก็บค่าลำดับเดือนนั้นจะใช้ date("n") - 1 เพราะว่า date("n") จะให้ค่าตั้งแต่ 1 - 12 การจะนำมาใช้ในอาร์เรย์ต้องเริ่มลำดับตำแหน่งที่ 0 จึงต้องทำการลบออก 1 เพื่อให้สามารถเข้าถึงลำดับในอาร์เรย์ได้อย่างถูกต้อง สำหรับปี พ.ศ. เราก็ใช้ date("Y")+543 เพราะ date("Y") จะให้ค่าเป็นปี ค.ศ. 4 หลักมาการที่จะทำให้เป็น พ.ศ. จึงต้องบวกเพิ่มอีก 543 ดังกล่าว
สำหรับบทความนี้ก็เป็นการนำฟังก์ชั่น date() มาประยุกต์ทำวันที่ภาษาไทยดังที่ได้ทำมาแล้วนั้นเรายังสามารถที่จะนำไปประยุกต์ทำอย่างอื่นได้อีกนั่นก็คือ ปฏิทิน สำหรับบทความต่อไปเราจะมาสร้างปฏิทินในแบบฉบับของเราเอง โปรดติดตามด้วยนะครับ
No comments:
Post a Comment