Wednesday, August 8, 2012

ความรู้ทั่วไป : เรื่องของระบบวันเวลา


   

   ทความวันนี้เป็นเรื่องของ ระบบวันเวลา ที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน คาดว่าหลายท่านยังไม่ทราบอย่างแน่นอน  มนุษย์เรานั้นใช้การนับเวลามาตั้งแต่โบราณ เช่นการนับช่วงเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงช่วงพระอาทิตย์ตกว่า กลางวัน ช่วงเวลาตั้งแต่พระอาทิตย์ตกจนถึงพระอาทิตย์ขึ้นว่า กลางคืน นอกจากนี้ยังมีการนับวันเวลาโดยดูจากการโคจรของพระจันทร์เป็นเกณฑ์ เช่นการนับ ข้างขึ้น ข้างแรม เดือนอ้าย เดือนยี่ ปีชวด ฉลู ฯ อย่างในที่ประเทศไทยใช้กัน ซึ่งเราเรียกการนับเวลาที่ดวงจันทร์เต็มดวงครบ 12 ครั้งว่า 1 ปี จึงเป็นที่มาของคำว่า ปีจันทรคติ (Lunar Month) ซึ่งปีจันทรคติปกติจริงๆแล้วมี 354 วันต่อมาเมื่อผ่านไปหลายร้อยปี จึงมีการสังเกตุแล้วพบความเปลี่ยนแปลงว่าฤดูกาลที่กำหนดไม่ตรงกัน คือเดือนที่เป็นฤดูหนาวตรงกับเดือนของฤดูร้อน จึงได้มีการทดเวลาเพิ่มเพื่อให้มีความเที่ยงตรงกับฤดูกาลตามความเป็นจริง โดยปีที่เป็นอธิกวารจะมี 355 วัน (อธิก = เพิ่ม / วาร = วัน) และปีที่เป็นอธิมาสจะมี เดือนแปดสองหน ดังนั้นจึงมี 384 วัน (มาส = เดือน)

    ประวัติการนับวันเวลาของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันอย่างประเทศไทยจะมีการเพิ่มเดือนแปดมาอีก 1 เดือนในทุกๆ 4 ปี คนแก่ๆมักเรียกว่าแปดสองหน
    ต่อมามีการนับวันตามสุริยคติ (Solar Month) อย่างที่ใช้กันในปัจจุบันคือการนับแบบวัน  เดือน ปีโดยใช้การโคจรของพระอาทิตย์เป็นเกณฑ์ ซึ่งแต่ละรอบจะใช้เวลา 365.25 วัน





จูเลียส ซีซาร์


    ในปีก่อนพระเยซูประสูติ 46 ปี หรือ 46 BC จูเลียส ซีซ่าร์  ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรโรมันประกาศให้ปีนี้มี 445 วันและปีหน้าเป็นต้นไปให้ทำปฏิทินใหม่ชื่อ ปฏิทินจูเลียน (๋Julian Calendar) โดยมีปีละ 365 วัน และทุกๆ 4 ปี ให้เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันเรียกปีนี้ว่า Leap Year สำหรับประเทศไทยเรียกปีนี้ว่า อธิกสุรทิน มีเรื่องว่าทำไมต้องเป็นเดือนกุมภาพันธ์ สาเหตุเพราะว่าสมัยก่อนนั้นให้เดือนมีนาคมเป็นปีแรกของปี ดังนั้นกุมภาพันธ์จึงเป็นเดือนสุดท้ายของปีและมี 30 วัน ต่อมา จูเลียส ซีซาร์ได้นำวันจากเดือนกุมภาพันธ์ มาเติมให้เดือนกรกฏาคม ซึ่งเป็นเดือนของพระองค์คือ July ทำให้มี 31 วัน สมัยต่อมาออกัสตัสก็เอาอย่างบ้างคือการนำวันจากเดือนกุมภาพันธ์ มาเติมให้เดือนสิงกาคม ซึ่งเป็นเดือนของพระองค์คือ August ทำให้มีวัน 31 วันเท่ากับเดือนกรกฏาคมเพื่อให้ดูเก่งเท่าจูเลียส ซีซาร์ ทำให้เดือนกุมภาพันธ์ผู้น่าสงสารมีเหลือเพียง 28 วันดังปัจจุบัน
    สำหรับประเทศไทยนั้นเดิมใช้วันแรม 1 ค่ำเดือนอ้าย ตามคติแห่งพุทธศาสนาเป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาก็ใช้วันขึ้น 1 ค่ำเดือน 5 เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามแบบคติพราหมณ์ ต่อมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีก็เปลี่ยนใหม่ให้เป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ 1 องศา ซึ่งตรงกับวันที่ 13 เมษายนพอดี ดังนั้นวันที่ 13 เมษายนของทุกปีจึงเป็นทั้งวันสงกรานต์ (สงกรานต์ = ก้าวย่าง) และวันขึ้นปีใหม่ไทยมาจนถึงปัจจุบัน เรามักได้ยินคำในวันสงกรานต์ 3 คำคือ

    วันมหาสงกรานต์ หมายถึง วันที่ 13 เมษายน คือวันที่พระอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษ
    วันเนา หมายถึง วันที่ 14 เมษายน เป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์คือวันที่พระอาทิตย์เข้าสู่ 0 องศาแล้ว (เนา = อยู่)
    วันเถลิงศก หมายถึงวันที่ 15 เมษายน เป็นวันที่เปลี่ยนศักราชใหม่ คือการที่พระอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษไม่น้อยกว่า 1 องศาแล้ว


วันสงกรานต์

     สำหรับปฏิทินที่ใช้ในปัจจุบันเป็นสากลนี้เรียกว่า ปฏิทินแกกรอเรียน (Gregorian Calendar) ซึ่งมีชื่อตามพระสันตปาปาแกเกอรี่ที่ 13 ริเริ่มให้ใช้ปฏิทินนี้ ซึ่งเป็นปฏิทินที่ปรับปรุงมาจากปฏิทินจูเลียนนั่นเอง โดยมีการเพิ่มเติมกฏ 2 ข้อคือ

1. แม้ทุกๆ 4 ปี จะเป็นปีอธิกสุรทิน แต่ปีที่หารด้วย 100 ลงตัวจะต้องไม่ใช่ปีอธิกสุรทิน

2. ถ้าปีนั้นหารด้วย 100 ลงตัวและหารด้วย 400 ลงตัวแสดงว่าปีนั้นเป็นปีอธิกสุรทิน


พระสันตปาปาแกเกอรี่ที่ 13 (Pope Gregory)


     ต่อมาวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2483 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีสมัยนั้นได้ประกาศเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ไทยเป็นวันที่ 1 มกราคม โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2484 เป็นต้นไปให้เพื่อให้เป็นสากลอย่างนานาประเทศ ประเทศไทยจึงมีวันขึ้นปีใหม่ 2 วันนับแต่นั้นมา

     ปัญหาต่อมาเมื่อถึงปี พ.ศ.2543 หรือ ค.ศ. 2000 เกิดปัญหากับคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ที่มีการเก็บข้อมูลวันที่แบบตัวเลข 8 หลักจึงได้มีการใช้วิธีจัดเก็บแบบใหม่โดยให้วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1970 เป็นวันเริ่มนับวินาทีแรกด้วยเวลา 0.00 น.ของวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1970 นั่นเอง


เรื่องของเวลามาตรฐาน (Standard Time)


World UTC Time Zone


    ผู้ริเริ่มความคิดให้มีการกำหนดเวลามาตรฐานคือ เซอร์แซนฟอร์ด เฟรมมิ่ง ชาวแคนาดา เมื่อมีการคิดค้นนาฬิกาขึ้นมาและต้องการเปรียบเทียบเวลาในแต่ละอาณานิคม โดยมีการกำหนดให้เมืองกรีนิช (Greenwich) เป็นเมืองที่มีเวลาเริ่มต้น ดังนั้นประเทศไทยเราถ้าดูจากภาพข้างบนแล้วเราจะมีเวลา UTC+7 (๊ UTC = Universal Time Co-Ordinated ) นั่นหมายถึงเวลาของประเทศเรานั้นเร็วกว่าที่เมืองกรีนิช 7 ชั่วโมงนั่นเอง


    สำหรับบทความนี้จะมีการต่อยอดไปถึงบทความต่อไปในเรื่องของการใช้ Date Time ในภาษา PHP นะครับ คงอีกสักระยะที่บทความนั้นจะเสร็จอย่างไรเดี๋ยวจะมีการอัพเดทเพิ่มเติมให้ทราบภายหลังแล้วกันนะครับ


**********************************************************************


Credit : Wikipedia
              : http://en.wikipedia.org/wiki/46_BC
              : http://th.wikipedia.org/wiki/ปีอธิกสุรทิน
              : http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_youtube.php?youtube_id=460
              ฐิติมา มโนหมั่นศรัทธา,โคตรเซียน PHP,โอเอวัน:กรุงเทพฯ,790หน้า



Picture_Ref : lesism.blogspot.com
                        songkran.showded.com
                        ramairskyways.com

No comments:

Post a Comment